WHY^3 โอ้ย! สงสัยจัง: ทำไม 1 มกราคมของทุกปีถึงเป็นวันขึ้นปีใหม่???

ทำไม 1 มกราคมของทุกปีถึงเป็นวันขึ้นปีใหม่???
ตอนนี้เราก็ต้องส่งท้ายปี 2018 กันแล้วเพราะอีกไม่นานก็จะถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปีนั่นเอง และถือว่าเป็นวันปีใหม่สากลอีกด้วย

เเละทุกคนคงสงสัยกันว่า ทำไม 1 มกราคมของทุกปีถึงเป็นวันขึ้นปีใหม่????

การรับวัฒนธรรมของโรมัน ที่มีเทพเจ้าองค์หนึ่งนามว่า เจนัส ที่มีบทบาทในฐานะเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลง เทพเจนัสนี้มีสองใบหน้า หน้าด้านนึงหันหน้าเข้าหาอดีตเเละอีกด้านหันหน้าเข้าหาอนาคต ทำให้ชื่อของเทพเจ้าองค์นี้กลายมาเป็นชื่อของเดือนเเรกอย่าง January


อีกเหตุผลคือสมัยก่อนก็ดำรงชีพโดยการทำการเกษตร วันที่ 1 มกราคมเป็นช่วงเวลาที่โลกหมุนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเเละเป็นช่วงเวลาที่กลางวันกลับมายาวอีกครั้งหลังจากฤดูหนาวอันยาวนานที่กลางวันจะสั้น การที่ช่วงกลางวันยาวขึ้นก็มีเป็นสัญญาณที่ดีว่าจะเข้าใกล้ฤดูเพาะปลูก จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่


                 หลายประเทศก็ทำการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ตามสถานที่สำคัญๆ  ซึ่งเราก็ได้คัดงานกิจกรรมในวันขึ้นปีใหม่ที่เคยเกิดขึ้นเเละมีเเง่มุมที่น่าสนใจ 5 ประเทศมาให้ทุกคนได้ดูกัน

ดูไบ  ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์✤
                  ที่ตึกBurj Khalifa ได้มีการจัด Light up 2018 มีการฉายเเสงเลเซอร์บนตึกBurj Khalifa เป็นตัวอักษรอาหรับ ภาพเนินทราย นกอินทรีบินเเละภาพอื่นๆซึ่งสื่อถึง The Year of Zayed ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตะกาลของชีค Zayed bin Sultan Al Nahyan ผู้ก่อตั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ซึ่งการจัดเเสดงครั้งนี้ก็ได้ทุบสถิติของกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดว่าเป็นการจัดเเสดงเเสงสีเสียงบนอาคารที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เเละได้จัดเเสดงติดต่อกันถึง6วัน

cr:https://www.theatlantic.com/photo/2018/01/photos-of-the-new-year-ringing-in-2018-around-the-world/549452/

ลอนดอน  ประเทศอังกฤษ
                 ผู้คนมากกว่า 100,000 คนได้มารวมตัวกันริมฝั่งเเม่น้ำเทมส์เพื่อรอชมมหกรรมพลุที่สวยงามที่สุดกว่า 10,000 ดอกที่ถูกยิงขึ้นฟ้าเป็นเวลากว่า 12 นาที เเละร่วมชมการเเสดงดนตรีจากนักร้องที่มีชื่อเสียงอย่าง  Aretha Franklin, Annie Lennox, Ariana Grande, Dua Lipa and Florence Welch ในช่วงที่ครึ่งหลังของการเเสดงเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีที่ผู้หญิงสามารถมีสิทธิ์ออกเสียง อีกทั้งยังเป็นครั้งเเรกที่จะได้ยินเสียงของนาฬิกา BigBen หรือ The Elizabeth Tower Clock อีกครั้งหลังจากปิดปรับปรุงไปเป็นเวลา 4 ปี



โรมาเนีย
               นอกเหนือไปจากการทำสมาธิเเละสวดมนต์ภาวนาในโบสถ์ออร์ธอดอกซ์เเล้ว เเถบชานเมืองทางะวันออกของโรมาเนีย จะมีธรรมเนียมการสวมชุดหมีหรือชุดม้าไปร้องเเละเต้นเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต้อนรับปีใหม่


นิวยอร์ก  ประเทศสหรัฐอเมริกา
                 สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศสุดท้ายที่ได้เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ มีการจัดงานเฉลิมฉลองที่จัตุรัสไทม์สเเควร์ ผู้คนมากกมายรวมตัวกันเเละร่วมชมการเเสดงพลุเเสงสีเสียงต่างๆ เเละที่พลาดไม่ได้เลยโดยเฉพาะโชว์สุดท้ายคือ ช่วงนับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ที่จะมีการปล่อยคริสตัลบอลจากจุดสูงสุดของตึกวันไทม์สเเควร์ ซึ่งประเพณีการปล่อยคริสตัลบอลนี้เริ่มมาตั้งเเต่ปี 1907 เเละก็ได้ทำอย่างนี้เรื่อยมาทุกปี

cr:https://www.theatlantic.com/photo/2018/01/photos-of-the-new-year-ringing-in-2018-around-the-world/549452/

ฮ่องกง  ประเทศจีน
                 ผู้คนกว่า1,000 คนเข้าร่วมชบการเเสดงพลุที่ท่าเรืออ่าววิคตอเรีย รวมถึงไฮไลต์ของงานอย่างพลุ shooting star ซึ่งมีการยิงขึ้นสู่ฟ้าอย่างต่อเนื่องนานกว่า 10 นาทีประกอบกับเพลง Auld Lang Syne (ออลด์แลงไซน์) ซึ่งชื่อเพลงหมายถึง "แด่เวลาที่ผ่านมา" ประพันธ์โดยกวีชาวสก็อตที่ชื่อว่า โรเบิร์ต เบิร์นส มักจะร้องเพลงนี้เพื่อเฉลิมฉลองในการเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งเพลง‘สามัคคีชุมนุม’ก็ได้ดัดเเปลงมาจากเพลงนี้ด้วยนะ




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม